ร้านซื้อขายพระเครื่องแนะ รู้ทันกลโกง เช่าพระออนไลน์

การซื้อขายพระเครื่องทุกวันนี้มีการ เช่าพระออนไลน์ กันมากขึ้น สังคมโลกยุคนี้เป็นโลกยุคดิจิตอล การทำธุรกิจทุกวันนี้มีการซื้อขายผ่านออนไลน์เป็นยุคเฟื่องฟู วงการพระเครื่องก็ได้ปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน เว็บไซด์พระเครื่องเกิดขึ้นมากมาย การซื้อขายพระเครื่องผ่านเว็บไซด์มีจำนวนมาก เซียนน้อยเซียนใหญ่ต่างทยอยปรับตัวเปิดร้านค้าบนโลกออนไลน์กันอย่างคึกคัก การค้าขายในอินเตอร์เน็ตที่เติมโตขึ้นนี้ กลายเป็นอีกช่องทางทำมาหากินของกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงหลอกลวงผู้บริโภคด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลโกงทุกรูปแบบ วันนี้ เว็บรับเช่าพระ.com ขอเสนอกลวิธีการหลอกลวงของเหล่ามิจฉาชีพ เพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวในการเช่าพระบนโลกอินเตอร์เน็ต

 

 

กลโกงรับเช่าพระออนไลน์

1. พระเก๊

คนที่เข้าสะสมพระเครื่องต่างรู้ดีกับคำว่า พระเก๊ ทุกคนที่ก้าวเข้ามาในวงการพระเครื่อง ไม่ว่าหน้าเก่าหน้าใหม่ สิ่งที่ทุกคนในวงการพระต้องเจอแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ พระเก๊ เรียกว่าต้องโดนทุกคนจะโดนมากโดนน้อยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง พระเก๊ นอกจากจะหลอกหลอนเราบนแผงพระเครื่องแล้ว ยังตามมาหลอกหลอนเราบนโลกอินเตอร์เน็ตอีก

2. ปลอมใบเซอร์

พระที่มีใบรับประกันพระเครื่อง หรือที่วงการพระเครื่องเรียกว่า ใบเซอร์ จะเป็นใบประกาศพระติดรางวัล บัตรรับประกัน บัตรรับรองพระเครื่อง ล้วนอยู่ในหัวข้อนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าพระเครื่องที่มี ใบเซอร์ จะเป็นการรับประกันว่าเป็นพระแท้หรือพระสวยจนติดรางวัล พระที่มีใบเซอร์จะได้ราคาดีกว่าพระที่ไม่มีใบเซอร์ เหล่ามิจฉาชีพก็จะปลอมใบประกาศโดยการอุปโลภ สถาบันโน่นนี่นั่นว่าพระได้รางวัลที่ 1 แล้วมาโพสต์คู่พระเครื่องที่ต้องการขาย

3. ภาพก็อป

ภาพก็อป ฟังดูเผิน ๆ ก็ไม่น่าจะมีอะไร เพราะในโลกอินเตอร์เน็ตมีการก็อปปี้ภาพกันเยอะแยะ แต่สำหรับวงการพระเครื่องนั้น การก็อปปี้ภาพ นับเป็นเรื่องใหญ่ เป็นหลอกลวง เกิดจากมิจฉาชีพไปก็อปภาพพระเครื่องของแท้แล้วนำมาโพสต์ขายบนอินเตอร์เน็ต เวลาที่ผู้ซื้อโอนเงินค่าพระแล้วแต่ไม่ได้พระ ผู้ซื้อได้รับความเสียหายมากน้อยขึ้นอยู่กับมูลค่าพระที่มิจฉาชีพก็อป

 

4. แต่งรูป

วิธีการนี้เหล่ามิจฉาชีพมีพระจริง เวลาถ่ายรูปพระเสร็จแล้วนำเอารูปไปแต่งให้พระสวยงามขึ้น เช่น ผิวลอกแต่งให้เป็นผิวเดิม กะไหล่ทองซีดก็แต่งให้สด ผิวไฟไม่มีก็แต่งให้มีผิวไฟ แต่งรมดำ แต่งผิวเดิม ๆ รวมทั้งปิดบังจุดบกพร่อง เช่น รอยอุด รอยซ่อม ร่องรอยชำรุดต่าง ๆ

5. ฮั้วราคา

การฮั้วราคา เราจะคุ้นเคยกับการฮั้วราคาในการประมูลต่าง ๆ ในวงการพระเครื่องก็มีการฮั้วราคากันเหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ แต่จะเกิดขึ้นในกรณีพระเครื่ององค์ดังกล่าวไปลงประมูลในเว็บที่เป็นเว็บประมูลพระเครื่อง พวกนี้จะทำเป็นทีม โดยจะมีหนึ่งในทีมลงประมูลพระแล้วให้คนในทีมก็จะเข้ามาค่อยประมูลเพิ่มราคาฮั้วกันให้ราคาสูงขึ้น เมื่อมีผู้หลงเชื่อเข้ามาประมูลร่วมด้วย เมื่อได้ราคาที่ต้องการแล้วก็จะปล่อยให้ผู้นั้นชนะประมูลไป ผู้โชคร้ายคนนั้นก็จะได้พระไปในราคาที่สูงผิดปกติ

 

วิธีการป้องกันการถูกหลอก

  • นัดพบดูองค์จริง

วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกว่าดีที่สุดคือการนัดพบดูองค์พระจริง ถ้าหากเจ้าของพระมีพระจริง เป็นผู้ขายจริงย่อมยินดีที่จะให้เราได้ดูพระจริง เราก็เตรียมความพร้อมเลย นำผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญไปช่วยกันดู ถ้าเป็นพระแท้แล้วเราพอใจก็จ่ายเงินรับพระมาก็จบ แต่หากรายไหนพอบอกขอดูพระจริงกลับอ้างนั่นอ้างนี่ อิดออดสารพัด อย่างนี้หนีให้ห่าง

  • ขอดูภาพสด

ในกรณีที่พระกับเราอยู่ห่างกัน เช่น เจ้าของพระอยู่ต่างจังหวัดไม่สะดวกเดินทาง เราก็ให้เจ้าของพระถ่ายภาพพระเพิ่มเติมให้ดู ๆ หลาย ๆ มุมเลย ถ้าคนขายที่เป็นตัวจริงต้องมีพระจริงและยินดีถ่ายรูปพระให้เราดูเพิ่มเติม ถ้าเป็นมิจฉาชีพก็ไม่สามารถถ่ายรูปพระเพิ่มเติมให้เราดูได้

  • ขอใบรับประกัน

การซื้อขายพระในโลกอินเตอร์เน็ต นอกจากจะดูพระให้ขาดแล้ว สิ่งที่จะสร้างความมั่นใจอีกขั้นหนึ่งก็คือให้เจ้าของพระออกบัตรรับรองพระเครื่อง หากเราซื้อจากร้านพระเครื่องใหญ่ ๆ หรือเซียนใหญ่ มักไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเป็นผู้ขายทั่วไปก็ให้เขาไปออกบัตรรับประกันจากสมาคมพระเครื่องไทย หรือตามสถาบันที่รับออกบัตรรับรองที่เชื่อถือได้

 

  1. ถ่ายรูปพระคู่กับบัตรประชาชน

เมื่อเราได้ดูภาพพระสดจนพอใจแล้ว ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน เรื่องราคากันแล้ว ก่อนโอนเงิน ให้ผู้ขายถ่ายรูปพระคู่กับบัตรประชาชนให้เราด้วย เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน หากมีปัญหาจะได้ติดตามฟ้องร้องกันได้ถูกคน

  1. ชื่อบัญชีที่โอนเงินต้องตรงกัน

ก่อนที่เราจะโอนเงินค่าพระให้กับผู้ขาย ให้เราตรวจสอบให้ดีก่อนว่าชื่อบัญชีที่จะใช้โอนเงินกับบัตรประชาชนเป็นชื่อเดียวกันหรือไม่ ถ้าเป็นชื่อเดียวกันก้ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็นคนละชื่อให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน สอบถามกันใหม่ให้ดี

เมื่อท่านอ่านบทความ รับเช่าพระออนไลน์ นี้แล้ว อยากแนะนำว่ามีวิะีป้องกันเมือโดนโกงออนไลน์ แนะนำอ่านบทความนี้ ขายพระเครื่องกับ ร้านรับเช่าพระออนไลน์ อย่างไรไม่ให้โดนโกง

 

โดนหลอก เช่าพระออนไลน์ ต้องทำอย่างไร

หากถูกถูกมิจฉาชีพหลอกเช่าพระออนไลน์ ให้ท่านรีบติดต่อไปยังธนาคารของบัญชีปลายทาง เพื่อแจ้งขออายัดบัญชีที่รับโอนไว้ก่อน หากธนาคารปลายทางตรวจสอบพบว่าบัญชีดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมจริง จะมีการระงับการทำธุรกรรมชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน

เมื่อแจ้งธนาคารแล้วให้ดำเนินการต่อไปนี้

  • เก็บหลักฐาน ให้เราเก็บหลักฐานการโอนเงิน หมายเลขบัญชีธนาคาร หลักฐานการแชทกับมิจฉาชีพ เบอร์โทรศัพท์ แคปหน้าประกาศขายพระเครื่ององค์ที่มีการซื้อขาย
  • แจ้งความที่สถานีตำรวจ เมื่อรวบรวมหลักฐานครบแล้วให้ไปแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจใกล้คุณ เพื่อนำไปประกอบหลักฐานการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป

วิธีป้องกันไม่ให้โดนโกงเช่าพระออนไลน์

  • อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินของเรากับคนไม่รู้จัก
  • อย่าหลงเชื่อคำเชิญชวนในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกินจริง
  • อย่าคลิกลิงก์ที่ถูกส่งมาไม่ระบุที่มา เพื่อป้องกันแอปพลิเคชันดูดเงิน
  • ตรวจสอบเลขบัญชีและชื่อผู้รับให้ก่อนทำการโอนเงินเสมอ หรือนำชื่อและเลขบัญชีไปค้นหาว่ามีประวัติการฉ้อโกงหรือมีคดีความใด ๆ หรือไม่

สรุป

การ เช่าพระออนไลน์ นอกจากเราจะต้องมีความรู้ดูพระเป็นแล้วยังไม่พอ เราต้องรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพด้วย เพราะมิจฉาชีพเดี๋ยวนี้นับวันจะมีกลวิธีใหม่ ๆ มาหลอกผู้บริโภคอยู่เรื่อย พอเราจับทางได้มันก็หาวีธีใหม่มาหลอกอีก ข้อแนะนำข้างต้นเป็นเพียงวิธีการเบื้องต้นในการเอาตัวรอดจากวิชามาร เล่ห์เหลี่ยม ของมิจฉาชีพ เชื่อแน่ว่าบรรดาคนโกงต่อ ๆ ก็จะมีวิธีการโกงที่แยบยลขึ้นอีก หากเราพบเจอกลโกงใหม่ ๆ อะไร ก็ขอให้เราช่วยกันโพสต์แจ้งเตือนกับเพื่อนด้วย เพื่อกันคนไม่ดีออกจากวงการพระเครื่อง นักเล่นพระจะได้ไม่ต้องมาโดนเหล่ามีจฉาชีพหลอกลวง

 

 

 

 

คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด

 

Share Now

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!