ถ้าพูดถึงเรื่องลงทุน หลายคนคงจะนึกถึงการลงทุนในตลาดหุ้น ลงทุนเก็งกำไรที่ดิน เก็งกำไรทอง ถ้าพูดเรื่องการทำธุรกิจ ก็มักจะนึกถึงธุรกิจการค้าและบริการ เช่น ธุรกิจขายของ ซื้อมาขายไป ธุรกิจร้านอาหาร ลงทุนทำโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ คุณรู้หรือไม่ ยังมีการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึงปีหลายพันล้านบาท เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่หลาย ๆ คนมองข้าม หลายคนไม่กล้าเข้ามา นั่นคือการลงทุน ซื้อขายพระเครื่อง เชื่อหรือไม่ว่าผลตอบแทนใน การ ลงทุนในพระเครื่อง สูงกว่า 100% ภายในเวลาไม่ถึงปี หมายถึงว่าท่านลงทุนไป ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นสองเท่า พ่อค้าพระหรือเซียนพระบางคนสามารถทำกำไรจากพระเครื่องได้สูงถึง 500-1,000% ขึ้นอยู่กับต้นทุนพระ ชื่อเสียงของเซียนพระท่านนั้น ๆ การลงทุนซื้อขายพระเครื่อง หากท่านจับพระได้ราคาถูกและปล่อยขายในราคาแพง ย่อมเป็นการสร้างกำไรอย่างมหาศาล ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจลงทุนในพระเครื่องอย่างใร ให้ได้กำไรดีมีเทคนิควิธีการอย่างไร ในบทความนี้ เว็บรับเช่าพระบ้าน.com จะมาเปิดเผยให้ท่านได้รับรู้กัน
เทคนิค ซื้อขายพระเครื่อง ให้ได้ราคาดี
1. เล่นพระแท้
การลงทุนซื้อขายพระเครื่อง ควรเล่นแต่พระแท้ จะเป็นพระหลักพระไม่หลักยังไงก็แล้วแต่ ควรเก็บแต่พระแท้ เพราะพระแท้เท่านั้นที่คนในวงการพระเครื่องให้การยอมรับ เราจะนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินเมื่อไรก็ได้ แถมได้ราคา เพราะพระแท้เมื่อเวลาผ่านไปราคาก็จะขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ
2. เล่นแต่พระนิยมของวงการ
หากท่านเป็นนักเล่นพระที่เข้ามาอยู่ในวงการพระเครื่องแล้ว ท่านจะต้องศึกษาว่าพระอะไรที่วงการนิยม พระที่วงการนิยมจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระตลาด” หมายถึงพระซื้อมีสภาพซื้อง่ายขายคล่อง ยกตัวอย่างเช่น พระเบญจภาคี พระหลวงปู่ทวด หลวงปู่ทิม หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อคูณ เป็นต้น แนะนำอ่านบทความ 10 อันดับ เหรียญพระพุทธ ยอดนิยมสูงสุด เพื่อเป็นแนวทางในการเล่นพระ
3. เล่นพระเก่าดีกว่าพระใหม่
หลายคนอาจแย้งว่าพระใหม่ ๆ สมัยนี้มีราคาแพงกว่าพระเก่าหลายรุ่น ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง การเก็บพระใหม่ ในทีนี้ของกล่าวว่าเล่นพระใหม่เล่นยากกว่าพระเก่าในแง่ของการเก็งราคา เนื่องจากพระใหม่มีระดับราคาหวือหวา ขึ้นลงตามกระแสการเก็งกำไร การเล่นพระใหม่ท่านต้องกะเก็งอนาคตให้ถูกด้วยว่า พระองค์ไหนรุ่นไหนจะดังจะได้รับความนิยม ถ้าท่านเก็งถูกท่านก็รวยไป ถ้าเก็งผิดก็ขาดทุน ผิดกับพระเก่าที่ราคาจะนิ่งกว่า และเราก็รู้อยู่ว่ารุ่นไหนนิยมไม่นิยม ไม่ต้องมาเสียเวลาคาดเดา
4. เล่นพระสวย
แน่นอนใคร ๆ ก็ชอบของสวย การเก็บพระสวยย่อมมีภาษีกว่า เก็บพระไม่สวยหรือพระมีตำหนิ แต่พระสวย ๆ ต้องแลกมากับราคาที่สูง แต่พระสวยถึงแม้ซื้อแพงแต่เวลาขายออกก็ได้ราคาแพงเช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นพระสวยระดับประกวดแล้ว สามารถอัพราคาได้สูงกว่าพระสวยระดับธรรมดา เรียกว่าเก็บพระสวยเป็นการลงทุน ซื้อขายพระเครื่อง ที่ดีไม่มีขาดทุนมีแต่กำไร รวย ๆ
5. เล่นแต่พระที่วงการยอมรับ
พระบางรุ่นแม้เป็นพระแท้ แต่หากมีประวัติไม่ดี เช่น มีกลิ่นเรื่องของเสริม ประวัติการสร้างไม่ดี ไม่ชัดเจน พระอุปโลกน์ พระยัดวัด ผียัดกรุ พระเหล่านี้แม้จะเป็นพระแท้แต่วงการไม่ให้การยอมรับ ควรหลีกเลี่ยงพระประเภทนี้ ควรเก็บแต่พระที่วงการให้ความยอมรับเป็นมาตรฐานสากลดีกว่า ราคามีแต่จะปรับขึ้น ขายเมื่อไรก็ขายได้ ซื้อง่ายขายคล่อง
เมื่อเรารู้แล้วแนวทางแล้วว่าเก็บพระอะไร แบบไหน พระที่เราได้มาแล้วควรเก็บไว้สักระยะหนึ่งให้ราคาพระขยับขึ้นจนเป็นที่พอใจ เราถึงนำออกมาขาย ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงการขายพระ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ขายเวลาไหน ขายที่ไหน ที่ได้ราคาสูงสุด
- ขายให้กับผู้ใช้โดยตรง
การปล่อยให้กับผู้ที่นำไปบูชาเองโดยตรง ไม่ผ่านคนกลางย่อมได้ราคาดีที่สุด เราสามารถตั้งราคาขายให้เท่ากับราคาเล่นหากันในตลาดได้เลย
- โพสต์ขายในสื่อโซเชี่ยล
วิธีนี้เป็นการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงเหมือนกัน การขายพระออนไลน์ในปัจจุบันได้รับความนิยมมาก การโพสต์ขายก็ง่ายมีแพลตฟอร์มหลาย ๆ ที่ให้เราโพสต์ขาย ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่เปิดให้มีการ ซื้อขายพระเครื่อง คือ Marketplace Kadee Shopee Lazada เป็นต้น
- ฝากตามร้านขาย
การขายให้กับคนใช้โดยตรงเหมือนกัน แต่ต้องเสียค่านายหน้าให้กับร้านพระที่เรานำไปฝาก
- ขายให้กับร้านรับเช่าพระ
ขายให้กับเซียนพระหรือร้านรับเช่าพระ ราคาอาจต่ำกว่าราคาท้องตลาดเพราะเขาต้องนำไปขายต่ออีกที
- ตั้งแผงพระขายเอง
ถ้ามีเวลาอาจไปเช่าที่ตั้งแผงพระขายเองเลย ตามสนามพระหรือตลาดนัดพระ เดี๋ยวนี้ตลาดนัดพระเครื่องมีอยู่แทบทุกชุมชน เลือกสักแห่งที่อยู่ใกล้บ้าน ราคาค่าเช่าก็ไม่แพงแค่หลักไม่กี่สิบบาทต่อแผงต่อวัน ลองขายเป็นแผงเล็ก ๆ ดูก่อน หากดีมีกำไรงามค่อยขยับไปขายในศูนย์พระเครื่องต่อไป
มีสถานที่แนะตำให้ท่านนำพระไปขายได้ราคาดี นำไปขายไม่ผิดหวัง แนะนำอ่านบทความนี้ รวม 10 สถานที่ รับเช่าพระราคาดี ในกรุงเทพที่คุณต้องรู้
สรุป
คนไทยกับพระเครื่องอยู่คู่กันมาช้านาน พระเครื่องมีการสร้างมานับเป็นพันปี มีพระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสก ทั้งพราหมณ์และพระสงฆ์ ส่วนมากผู้สร้างพระจะเป็นชนชั้นสูง อำมาตย์ หรือคหบดี จำนวนการสร้างก็สร้างกันครั้งละมาก ๆ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างเพื่อหวังบุญ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็แจกจ่ายให้กับประชาชน ส่วนที่เหลือก็นำไปบรรจุกรุเพื่อสืบทอดอายุพระศาสนา จะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนพระเครื่องไม่มีการซื้อขายกัน มีแต่การให้กัน แจกจ่ายกัน เพื่อหวังเอาบุญกันเป็นส่วนใหญ่ การซื้อขายกันที่เรียกว่าธุรกิจพระเครื่องในสมัยนี้ยังไม่เกิดขึ้น ในบัจจุบันพระเครื่องมีมูลค่า มีการซื้อขายพระเครื่องกันออกหน้าออกตา การลงทุน ซื้อขายพระเครื่อง เหมือนลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ มีกำไรมีขาดทุนเป็นปกติ
คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด