10 เทคนิค เปิด ร้านพระเครื่อง รับเช่าพระ ให้ร่ำรวย

10 เทคนิค เปิด ร้านพระเครื่อง รับเช่าพระ ให้ร่ำรวย

ธุรกิจเกี่ยวกับพระเครื่องเป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูง เซียนพระหลายคนที่แรก ๆ มีอาชีพอย่างอื่น เป็นช่างตัดผม เป็นคนขับสามล้อ ค้าขายหาเช่ากินค่ำ แต่พอก้าวเข้ามาในแวดวงพระเครื่อง หลายคนพลิกฐานะจากยากจนเป็นคนรวยได้ในเวลาไม่กี่ปี ธุรกิจพระเครื่องสร้างรายได้มากจริงหรือ คนที่จะเข้ามาในอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติหรือมีความรู้เทคนิคอะไรพิเศษอย่างไร ในวันนี้ เว็บรับเช่าพระบ้าน.com เสนอบทความเจาะลึกถึงการเปิด ร้านพระเครื่อง ว่ามีวิธีการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เชิญติดตามอ่านกันได้ครับ

 

 

10 ขั้นตอนเปิด ร้านพระเครื่อง ให้ร่ำรวย

1. ต้องมีใจรัก

การทำงานอะไรก็แล้วแต่ หากงานที่ทำแล้วมีความสุข เป็นงานที่เรารัก ผลงานย่อมออกมาดี ในธุรกิจพระเครื่องก็เช่นกัน คนที่จะเข้ามาทำอาชีพนี้ ก่อนอื่นเลยต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความชอบในพระเครื่องไหม ถ้ามีใจชอบและรักในวัตถุมงคลในพระเครื่องแล้ว ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง การเปิดร้านพระเครื่องต้องมีพืนฐานใจรักศรัทธาต่อพระเครื่องก่อน

2. ต้องมีความรู้

ก่อนที่จะก้าวเข้ามาทำธุรกิจในวงการพระเครื่อง สิ่งแรกที่จะมีก็คือความรู้ สามารถแยกแยะเก๊แท้ได้ ในระยะแรก ๆ ที่ก้าวเข้ามาเราอาจยังมีความรู้บ้างไม่มากไม่เป็นไร พออยู่ไปเรื่อย ๆ วงการและประสบการณ์จะสอนเราเอง เราก็ค่อย ๆ เรียนรู้หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพียงแต่ระยะเริ่มต้นให้เราเริ่มจากพระที่เราขอบก่อน แล้วค่อย ๆ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ไม่นานก็จะเก่งเอง

3. ต้องมีเงินทุน

การทำธุรกิจทุกประเภทต้องมีเงินทุนสนับสนุนทุกอาชีพ ร้านพระเครื่อง ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเหมือนกันจะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับประเภทพระที่เราเล่น ถ้าเราเล่นพระหลักก็ต้องใช้เงินทุนสูง ถ้าเล่นพระกลาง ๆ รอง ๆ ลงมาก็ใช้เงินทุนน้อยลงมา

 

 

4. ต้องแม่นราคา

เมื่อเราเปิดร้านพระเครื่องและทำธุรกิจซื้อขายพระเครื่อง สิ่งที่ต้องเจออย่างแน่นอนคือ จะมีคนถือพระมาปล่อยที่ร้านเรา ซึ่งนอกจากเราจะต้องดูพระเป็นแล้ว เราต้องแม่นราคาด้วย ต้องรู้ว่าพระรุ่นใหนเล่นกันราคาเท่าไร ถ้าเราซื้อผิดราคามาแทนที่จะกำไรกลายเป็นซื้อราคาสูง ขาดทุนไปอีก เรื่องขาดทุนขอบอกเลยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ การซื้อขายพระเครื่องก็เช่นกัน บางทีเราซื้อพระผิดรุ่น ผิดปี ผิดบล็อก หรือไปเจอพระเก๊ ทำให้เราขาดทุนได้ เรื่องราคาจึงสำคัญต้องอย่าพลาดในจุดนี้

5. ต้องมีเพื่อนร่วมวงการ

ในวงการพระเครื่องจะแปลกกว่าวงการอื่นคือ เราต้องมีเพื่อนร่วมวงการให้มาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี เรียกว่ามีเครือยข่าย (Connection) การมีเพื่อนร่วมวงการดีอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งเราจะเช่าพระองค์หนึ่งแต่เราดูพระองค์นั้นไม่ขาด เราก็ต้องอาศัยเพื่อน ๆ ช่วยกันดู เรียกว่าดูหลายตาดีกว่าตาเดียว หรือหากเงินเราไม่พอเช่าพระก็อาจร่วมกับเพื่อนเช่าพระขึ้นมาแบ่งกำไรกัน

6. ต้องมีสัมมาคารวะ

แรก ๆ ที่ผู้เขียนเข้าไปในวงการพระ เห็นภาพ ๆ หนึ่งรู้สึกงง ๆ คือเห็นนักเล่นพระรุ่นใหม่ ยกมือไหว้นักเล่นพระรุ่นพี่ ใช่มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่รุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ แต่ที่มันแปลกก็คือเขาไหว้กันทุกวัน ไอ้เราก็งง จะไหว้กันทำไมทุกวัน ไหว้ครั้งเดียวก็พอแล้ว แต่ผมสังเกตหลายครั้งแล้วก็เป็นอย่างนี้ แต่พออยู่ ๆ มาจึงเขาใจว่าแวดวงสังคมพระเครื่องเขามีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างนี้มาเป็นปกติ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เอาเป็นว่าเข้าเมืองหลิ่วให้หลิ่อตาตาม ตามนั้น

 

7. ต้องมีอาจารย์ดี

ในวงการพระเครื่องไม่มีใครหรอกที่จะรู้พระไปหมดทุกอย่าง ยิ่งเราเป็นมือใหม่ด้วยแล้วความรู้เรายังน้อยนิด จึงควรหาอาจารย์เก่ง ๆ สักคนเอาไว้เป็นที่ปรึกษา เซียนพระในวงการทุกคนเป็นใจดี พร้อมช่วยเหลือน้อง ๆ ที่เข้ามาใหม่ทุกคนอยู่แล้ว เราก็เข้าไปไหว้ท่านดี ๆ ขอความรู้จากท่าน ท่านเห็นท่านก็เมตตาเราแนะนำสิ่งดี ๆ ให้เรา เวลาที่ดูพระอะไรไม่ขาดเราจะได้ไปขอความรู้ให้แนะนำเราได้

8. ทำเลต้องดี

การเปิด ร้านพระเครื่อง แนะนำว่าควรเปิดในสนามพระเครื่อง หรือศูนย์พระเครื่องจะดีกว่าเปิดนอกสนามพระเครื่อง แบบไปอยู่โดด ๆ ข้างนอกอย่างนี้ไม่ดีครับ ลูกค้าไม่ค่อยไปเดินกับร้านข้างนอก ควรเปิดในสนามพระหรือในศูนย์พระเครื่องจะดีกว่า เพราะลูกค้าเวลามาดูพระเขาจะมาที่ศูนย์พระเครื่องก่อน ไม่มีใครหรอกที่จะไปดูพระที่ร้านนอกศูนย์พระเครื่อง แรก ๆ เราอาจเช่าเป็นตู้พระไปก่อน แล้วค่อยขยับขยายเป็นห้องเมื่อเรามีความพร้อมมากขึ้น

9. ต้องซื่อสัตย์

การทำธุรกิจทุกประเภทนั้น สิ่งหนึ่งที่จะต้องมีคือ ต้องมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า ทั้งคนมาขายพระและคนที่มาเช่าพระกับเรา ต้องขายแต่พระแท้ อย่าเอาพระเก๊มาขาย พระองค์ไหนชำรุด ซ่อมมา ก็ต้องแจ้งลูกค้าให้ทราบตามตรง ขายตามสภาพตามความเป็นจริง ราคาก็ตั้งพอสมควรอย่าไปตั้งสูงจนเกินไป เพื่อผูกใจลูกค้า

 

 

10. ต้องรู้จักแบ่งปัน

เมื่อเราอยู่ในวงการพระเครื่องไปนาน ๆ เราก็จะมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ถึงตอนนั้นอาจมีเด็กใหม่ ๆ ที่เพิ่งเข้าวงการ มาขอความรู้จากเรา ๆ ก็ควรแบ่งปันความรู้ให้เขา ตอบแทนสังคมเหมือนกับตอนที่เราเป็นน้องใหม่พระเครื่องแบบพี่ช่วยน้อง เพื่อช่วงจรรยโลงสังคมวงการพระเครื่องให้เดิบโตมากขึ้น

10 ขั้นตอนนี้ เป็นวิธีการเบื้องต้นของการเป็นเซียนพระในลำดับถัดไป แนะนำอ่านบทความ คัมภีร์เซียนพระ หนทางสู่ความเป็นเซียน

 

สรุป

ในสังคมของวงการพระเครื่อง เขามีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี เขามีชมรมมีสมาคมคอยดูแลนักเล่นพระเป็นลำดับขั้น เซียนใหญ่ในวงการเป็นที่รักเคารพของนักเล่นพรรุ่นใหม่ นักเล่นพระรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในวงการต่างก็ให้ความเคารพต่อนักเล่นพระรุ่นพี่ เชื่อหรือไม่ว่านักเล่นพระเขารู้จักกันไม่ใช่เฉพาะในวงแคบ ๆ ร้านพระเครื่อง ในสนามพระเดียวกัน หรือแค่ในจังหวัดเดียวกัน แต่นักเล่นพระนั้นเขารู้จักกันทั้งประเทศ เขามีเครือข่ายติดต่อกันตลอด เซียนเล็กเซียนใหญ่ทั้งกรุงเทพต่างจังหวัดเขารู้จักกันหมด ใครทำดีทำเลวมีพฤติกรรมอย่างไร แป็ปเดียวรู้ถึงกันหมด อย่างนี้จะเรียกว่าวงการพระกว้างหรือแคบกันดี

 

 

 

 

คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด

 

 

 

Share Now

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!