10 อันดับ ศาลเจ้าจีน ที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้

10 อันดับ ศาลเจ้าจีน ที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้

หากกล่าวถึงวัด วัดเป็นศาสนสถานที่คนไทยนิยมสร้างเพื่อสืบทอดอายุุพระศาสนา และถ้าจะกล่าวถึง ศาลเจ้า ศาลเจ้าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนไทยที่นิยมสร้างเช่นกัน ศาลเจ้าที่มีอยู่ในเมืองไทยจะแบ่งเป็นศาลเจ้าตามลัทธิความเชื่อ เช่น ถ้าเป็นคนไทยพุทธก็จะสร้างศาลเจ้าไทย ถ้าเป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็จะสร้าง ศาลเจ้าจีน ศาลเจ้าจีนสร้างด้วยศิลปวัตนธรรมของชาวจีน ซึ่งจะเป็นชาวจีนยุคแรก ๆ ที่อพยพมาเมืองไทย ศาลเจ้าจีนมีมากมายตามจำนวนประชากรคนไทยเชื้อสายจีนที่ที่อาศัยอยู่กระจายทั่วประเทศ ศาลเจ้าหลายแห่งมีการสร้างมายาวนานจนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นศูนย์รวมศรัทธาของคนในพื้นที่ บางแห่งดังไปทั้งประเทศมีลูกศิษย์ลูกหากันทั่วประเทศ ศาลเจ้าจีนหลายแห่งคนไทยนิยมไปกราบไหว้  บทความนี้จะรวบรวม 10 อันดับ ศาลเจ้าจีนทึ่คนไทยนิยมกราบไหว้ ขอเชิญทุกท่านติดตามมาดูครับ

1. ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า ศาลตั่วเหล่าเอี้ย เป็นศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงมากศาลเจ้าพ่อเสือ มีความศักดิ์สิทธิ์สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ได้ขยายถนนบำรุงเมือง จึงให้ย้ายศาลเจ้าพ่อเสือมาไว้ที่ ทางสามแพร่งถนนตะนาว ซึ่งก็คือสถานที่ตั้งในปัจจุบัน ศาลเจ้าพ่อเสือมีคนไปกราบไหว้ทุกวัน หลายคนมีความเชื่อว่ามาไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือจะช่วยเสริมดวงชะตา ทำการค้าเจริญรุ่งเรือง ขจัดอุปสรรค แก้ปีชง งานประจำปีของศาลเจ้าพ่อเสือจะถือเอาวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพ่อเสือสำเร็จธรรม โดยจะตรงกับเทศกาลกินเจพอดี ทางศาลเจ้าจึงได้ถือโอกาศที่บรรดาลูกศิษย์ได้ผ่านการถือศีลกินเจมาตลอด 9 วัน 9 คืน ทำให้มีความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ จึงได้จัดพิธีแห่องค์เจ้าพ่อเสือในวันหลังเทศกาลกินเจทุกปี ซึ่งในวันงานทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดขาว อัญเชิญองค์เจ้าพ่อเสือ และเทพบริวาร แห่บริเวณรอบเขตพระนครให้ลูกศิษย์ได้กราบไหว้ชื่นชมบารมีเจ้าพอ ถือเป็นงานประเภณีที่ยิงใหญ่มีลูกศิษย์มาร่วมพิธีจากทั่วประเทศ

 

ศาลเจ้าไต้ฮงกง

2. ศาลเจ้าพ่อไต้ฮงกง

ศาลเจ้าไต้ฮงกง ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปจำลองของหลวงพ่อไต้ฮงกง ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ชาวจีน ในสมัยราชวงศ์ซ้องผู้มากไปด้วยความเมตตากรุณา ช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก เจ็บไข้ได้ป่วย นับเป็นภิกษุที่สร้างคุณงามความดีมากมาย ชาวจีนนับถือศรัทธาท่านเป็นอย่างมาก ท่านยังเป็นผู้ที่ริเริ่มงานสาธารณบำเพ็ญกุศล ในการจัดฌาปนกิจศพไร้ญาติ องค์บูชาเจ้าพ่อไต้ฮงกงเข้ามาเมืองไทยพร้อม ๆ กับชาวจีนอพยพที่ล่องเรือมาทางเรือสำเภา เป็นที่พึ่งทางใจในยามที่ต้องห่างไกลบ้าน เมื่อแรกเริ่มศาลเจ้าพ่อใต้ฮงกง เป็นเพียงสาลเล็ก ๆ เมื่อชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ทำมาค้าขายกิจการรุ่งเรือง ก็ได้ร่วมกันสร้างศาลให้ดีขึ้นพร้อมกับมีการตั้งหน่วยอาสาตามเจตจำนงของท่านสมัยเป็นพระภิกษุ จึงเป็นต้นกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในปัจจุบัน นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าไต้ฮงกง แห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นได้ 111 ปีแล้ว เจ้าพ่อไต้ฮงกงมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก คนไทยและคนต่างชาตินิยมมากราบไหว้ ทำบุญบริจาคสิ่งของ บริจาคโรงศพ กราบไหว้ขอพรให้เจริญก้าวหน้าในหน้าการงาน ค้าขายร่ำรวย ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข มีโชคมีลาภ แก้ปีชง ซึ่งคนมากราบขอพรต่างก็สมหวังดั่งใจกันตาม ๆ กัน 

งานประจำปีของศาลเจ้าพ่อใต้ฮงกงจะอยู่ในช่วยเทศกาลกินเจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งจะจัดงานบุญงานใหญ่ ตั้งโรงทานบริการให้กับประชาชนทั่วไปและผู้มากราบไหว้หลวงปู่ มีการแจกขนมมงคล ผ้ายันต์ วัตถุมงคล ให้กับประชาชนนำไปสักการะที่บ้าน หลังเทศกาลกินเจประมาณหนึ่งเดือนจะมีเทศกาลเทกระจาด จะเป็นการแจกข้าวสารอาหารแห้งให้กับประชาชนผู้ยากไร้เป็นงานใหญ่มีประชาชนมาต่อแถวรับของแจกจำนวนมากทุกปี

 

ศาลเจ้าเห้งเจีย

3. ศาลเจ้าพ่อเห้งเจียวัดสามจีน

ศาลเจ้าพ่อเห้งเจียแห่งแรกของไทย ศาลเจ้าไต้เสี่ยฮุกโจ้ว วัดสามจีน (วัดไตรมิตร)  เป็นศาลเจ้าที่มีความเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 องค์เจ้าพ่อเห้งเจีย ได้อัญเชิญมาจากประเทศจีน องค์เจ้าพ่อเห้งเจีย แกะสลักจากไม้มงคลโบราณลงรักปิดทอง มีอายุหลายร้อยปี ศาลเจ้าเห้งเจีย วัดสามจีน มีชื่อเสียงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ มีผู้คนแวะเวียนมาไหว้เป็นจำนวนมาก ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ ต่างพากันเดินทางมากราบไหว้ขอพรทั้งในเรื่องการเงิน การงาน และการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งมีผู้สมหวังหวังมากมายจากหลายประเทศเชื่อกันว่า ศาลเจ้าพ่อเห้งเจียศักดิ์สิทธิ์มาก ขออะไรจะได้ตามความปราถนา โดยเฉพาะเรื่องการค้าขาย และโชคลาภ 

งานใหญ่ประจำปีของศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย คืนงานฉลองวัดเกิดของเจ้าพ่อเห้งเจีย ซึ่งจะตรงกับวันหลังวันไหว้พระจัน 1 วัน ของทุกปี

 

ศาลเจ้าแม่ทับทิม

4. ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง

ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพ อยู่ย่านสะพานเหลือง มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 องค์เจ้าแม่ทับทิมแกะสลักด้วยไม้ ชาวบ้านพบท่านลอยน้ำอยู่ในคลองย่างบางรัก จึงได้อัญเชิญขึ้นมากประดิษยฐานที่ศาลเจ้าเก่าย่านสะพานเหลืองจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติเจ้าแม่ทับทิม

เจ้าแม่ทับทิมหรือเจ้าแม่มาจู่ มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นเทพแห่งการเดินเรือ เป็นธิดาของขุนนางจีนมณฑลฮกเกี้ยน เกิดในสมัยราชวงศ์ซ้ง เป็นคนอำเภอผู้เถียน มณฑลฝู่เจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ตอนมารดาของมาจู่ตั้งครรถ์ฝันว่าเจ้าแม่กวนอิมเอาดอกไม้มาให้ วันคลอดมีกลิ่มหอมอบอวลไปทั่วมณฑล มาจู่มีความเฉลียวฉลาดตั้งแต่เด็ก มีพรสวรรค์สามารถถอดจิตไปช่วยเหลือพี่ชายที่ประสบกับพายุตอนออกทะเลหาปลากลับมาอย่างปลอดภัย ทำให้นางมาจู่เป็นที่เรื่องลือไปทั่วทั้งมณฑล คนที่มากราบไห้วเจ้าแม่ทับทิมมักจะมาขอพรเรื่องหน้าที่การงาน สุขภาพ เรื่องการเดินทาง

ปัจจุบันศาลเจ้าแม่ทับทิมได้ถูกย้ายมาในอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์

 

ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า

5. ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า

ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า ตั้งอยู่ที่ต้นถนนเยาวราช เลยวงเวียนโอเดียนมา ฝั่งตรงข้ามวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ภายในศาลมีรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิมแกะสลักด้วยไม้จันทน์ ศิลปะราชวงศ์ถัง เป็นที่น่าสังเกตุว่ามูลนิธิเทียนฟ้ามีอายุกว่าร้อยปี แต่องค์เจ้าแม่กวนอิมมีอายุกว่าพันปี ทางมูลนิธิได้อัญเชิญเจ้าแม่กวนอิมองค์นี้ มาจากประเทศจีนใน พ.ศ.2501 ศิลปะศิลปะราชวงศ์ถัง มีความศักดิสิทธิ์ คนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพมักจะมาไหว้พระ ขอพร เป็นประจำ

ประวัติเจ้าแม่กวนอิม

พระโพธิสัตว์กวนอิม เดิมเป็นเทวดา ต้องการช่วยปลดทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ จึงจุติลงมายังโลกมนุษย์ในชาติสุดท้าย นามว่า เจ้าหญิงเมียวซ่าน เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งแคว้นจักรซิ่งหลิง พระบิดานามว่า พระเจ้าเมียวจวง และพระนางเซี้ยวหลิน มีพระพี่นาง 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงเมี่ยวอิ้ม และเจ้าหญิงเมี่ยวหย่วน

 

ศาลเจ้าพ่อกวนอู

6. ศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสาน

ศาลเจ้ากวนอู คลองสาน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2279 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา  ศาลเจ้ากวนอูแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชมสมเด็จย่าใกล้กับสวนสมเด็จย่า หลังวัดอนงคาราม ย่านคลองสาน ธนบุรี ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนมายาวนาน  ผู้มากราบไหว้ส่วนใหญ่จะมาขอพรเกี่ยวกับหน้าที่การงาน การค้าขาย ศาลเจ้ากวนอูแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินเคยเสด็จมากสักการะมาแล้วโดยจะมาสักการะก่อนทุกครั้งออกราชการสงคราม

ประวัติเจ้าพ่อกวนอู

กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เลียง มณฑลฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือ เผิงเสี้ยน รูปร่างสูงกำยำ สง่างาม แข็งแรง มีกำเนิดในครอบครัวขุนนาง ชำนาญด้านด้านการรบ เป็นนักโทษการเมืองต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเป็นเวลา 6 ปี จนถึงด่านชายแดน นายด่านเห็นพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูปกปิดขื่อจึงบกนายด่านว่าตัวเองชื่อ ถงกวน ทำให้นายด่านคิดว่ากวนอูนั้นแซ่กวน จากนั้นเป็นต้นมาเนื่องจากต้องหลบหนีคดีปกปิดชื่อจริงกวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมจากเผิงเสี้ยนเป็นกวนอูนับจากนั้นเป็นต้นมา

 

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

7. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือศาลเจ้าเล้งจูเกียง เป็นศาลเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่บนถนนอาเนาะรู ต.อาเนาะรู ยังหวัดปัตตานี ตามหลักฐานพบว่าศาลเจ้า ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2117 ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ภายในศาลเจ้าเป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว งานประจำปีของศาลเจ้าจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีการแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปในตัวเมืองปัตตานี มีประกอบพิธีลุยไฟหน้าศาลเจ้า ในงานนี้มีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุกปี ยิ่งในช่วงเทศกาลลกินเจ ทางศาลจะมีผู้ศัทธามาร่วมงานมากเช่นกัน

 

ศาลเจ้านาจา

8. ศาลเจ้านาจา

ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อตั้งอยู่ที่ ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี ศาลนี้สร้างโดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ ในปีพ.ศ. 2534 มีเนื้อที่ 13 ไร่ อยู่บริเวณแถวตลาดอ่างศิลาสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมจีนอย่างวิจิตรสวยงาม ภายในศาลเจ้าเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปจีนหลายองค์

 

ศาลเจ้าพ่อยีกอฮง

9. ศาลเจ้าพ่อยีกอฮง

ศาลเจ้าพ่อยีกอฮง ตั้งอยู่บนดาดฟ้าของสถานีตำรวจพลับพลาไชย เจ้าพ่อยี่กองฮงมีชื่อเดิมว่า นายเตี่ยง แซ่แต้่ ท่านเป็นเทพแห่งการเสี่ยงโชคเสี่ยงดวง สมัยมีชีวิตอยู่ได้รับการขนานามว่า เทพเจ้าหวยแห่งสยามประเทศ ปัจจุบันมีผู้คนนิยมกราบไหว้บูชาเจ้าพ่อยีกอฮงเป็นจำนวนมาก เจ้าพ่อยีกอฮง ท่านเป็นเซียนฆราวาสที่มีผู้คนนับถือมากมาย ท่านยังถือเป็น 1 ใน 9 ฆราวาสจอมขมังเวทย์ อีกด้วย

10. ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ เป็นศาลเจ้าแต้จิ๋วเก่าแก่ที่สุดในไทย อายุกว่า 300 ปี อยู่ในตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ เยาวราช สร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์หรือ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ.2331 ศาลเจ้า เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบจีน เป็นอาคารใหญ่ปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี ภายในศาลมีแท่นบูชา เล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือเทพเจ้าหางมังกร

ศาลเจ้าหลายแห่งได้จัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาด้วยเช่นกัน หลายรุ่นที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง หากท่านใดมีพระเครื่องจีน ที่ออกโดยศาลเจ้าจีนที่กล่าวมานี้ หากต้องการปล่อยพระ ทางร้านยินดี รับเช่าพระ

สรุป

จบไปแล้ว 10 อันดับ ศาลเจ้าจีน ที่คนไทยนิยมไปไหว้ ทั้ง 10 แห่ง ล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติมายาวนาน ก่อสร้างด้วยศิลปะวัฒนธรรมจีน หลายแห่งได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็น Landmark ประจำชุมชน ความเชื่อและความศรัทธา เป็นสิ่งที่ดีงามแต่ละลัทธิความเชื่อแผงไว้ด้วยคติธรรม ศาลเจ้าจีนแม้เริ่มต้นจะมีจุดประสงค์เพียงเป็นที่พึ่งทางใจของชาวจีน ด้วยวัฒนธรรมของจีนไทยมีความละม้ายคล้ายกันหลายอย่าง ทำให้ศาลเจ้าจีนทุกแห่งที่กล่าวถึงนี้คนไทยต่างให้ความเคารพนับถือ กราบไหว้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งคนไทยคนต่างชาติ เดินทางมากราบไหว้ศาลเจ้าจีนในแต่ละแห่งเป็นจำนวนมาก ในเมืองไทยยับมีศาลเจ้าจีนกระจายอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นที่ไม่ได้กล่าวในบทความนี้ แต่ศาลเจ้าจีอื่น ๆ ก็ดำรงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแยกไม่ออก

 

สำหรับท่านที่ชื่นชอบบทความนี้ สามารถแชร์ให้เพื่อนได้ โดยแชร์ลิงค์เว็บไซต์ ( website URL) ของบทความนี้ ทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ได้

คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด

Share Now

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!