คำว่า พระเครื่อง เป็นวัตถุมงคลองค์เล็ก ๆ ที่ไว้ห้อยคอ พกติดตัวเพื่อเป็นสิริมงคง คนไทยรู้จัก พระเครื่อง มาช้านาน วันนี้ เว็บรับเช่าพระบ้าน.com จะพาท่านย้อนประวัติพระเครื่องไทย ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไร จากการค้นพบพระเครื่องยุคแรก ๆ อายุการสร้างกว่าพันปี แต่สมัยนี้จะไม่เรียญว่า พระเครื่อง แต่จะเรียกว่า พระพิมพ์ คือพระกระดุมศรีวิชัย แคว้นศรีวิชัย และยุคทาราวดี แต่ในสองยุคนี้จำนวนการสร้างไม่มากนัก ที่เห็นสร้างเป็นจำนวนมากจะเป็นยุคของแคว้นหริภุญชัย พระเครื่องในยุคนี้ที่พบเห็นคือ พระรอด พระคง พระเปิ่ม และพระสกุลหริภุญชัยพิมพ์อื่น ๆ พระเครื่องในยุคแรกนี้ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยเนื้อดินเป็นหลัก
วัตถุมงคล หมายถึง ของมงคลที่เชื่อว่าบูชาแล้วจะมีสิริมงคลนำความสุขความเจริญรุ่งเรืองมาให้ ส่วนมากจะมีความเกี่ยวกันกับความเชื่อทางศาสนา
พระบูชา หมายถึง องค์จำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ย่อส่วนลงมาให้มีขนาดที่สามารถนำมาบูชาไว้ประจำบ้านเรือน มีสร้างกันมานาน ในวงการพระเครื่องแบ่งออกเป็นหลายยุคสมัย เช่น ยุคเชียงแสน สุโขทัย ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ขนาดที่ได้รับความนิยมคือ 9 นิ้ว 7 นิ้ว 5 นิ้ว เป็นต้น ระยะหลังมีการสร้างเป็นรูปจำลองของพระเกจิอาจารย์ด้วย ซึ่งก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
พระเครื่อง หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็ก ๆ ในยุคแรกนิยมสร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในเจดีย์ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา พระเครื่องมีหลายรูปแบบทั้ง เหรียญ รูปหล่อ พระสมเด็จ โดยสร้างด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น โลหะ เนื้อผง เนื้อดิน ฯลฯ พระเครื่อง รวมถึงรูปสมมติของอริยพระสงฆ์ พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าตามความเชื่ออื่นด้วย พระเครื่องถือเป็นมรดกความภาคภูมิใจของคนไทย
เครื่องรางของขลัง หมายถึง วัตถุมงคลอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร คุณไสยมนต์ดำ ปัดเป่าสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น เครื่องรางของขลัง จัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์ เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ เป็นความเชื่อนอกเหนือจากศาสนาพุทธ มักจะเป็นความเชื่อของคนในแต่ละชุมชน เครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยม เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ มีดหมอ ประคำ ลูกอม ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ เป็นต้น
แม้เมืองไทยจะรู้จักพระเครื่องมาเป็นเวลานานแล้ว ในยุคแรกจะเป็นความเชื่อเรื่องการสร้างพระเพื่อเอาบุญ ไม่ได้สร้างเพื่อไว้พกติดตัวเหมือนยุคสมัยต่อมา ถ้าเราจะมองย้อนไปในยุคสุโขทัย อยุธยา หรืแม้แต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เราะจะพบหลักฐานชิ้นใดที่แสดงให้เห็นเลยว่าคนไทยในยุคดังกล่าวห้อยพระเครื่องติดตัว ไม่ว่าจะภาพจิตรกรรมฝาผนังในยุคนั้น วรรณคดีไทย ภาพประวัติศาสตร์ต่าง ไม่มีการกล่าวถึงการห้อยพระเครื่องติดกายเลย จะมีหลักฐานที่สืบค้นได้ในยุครัชกาลที่ 5 เนื่องจากในยุคนี้เทคโนโลยีทันสมัยได้เข้ามาเมืองไทย ประกอบกับได้มีการสร้างพระเครื่องขึ้นมา ทั้งเหรียญกษาปณ์ และผู้ที่ปฏิวัติการบูชาพระเครื่องที่เป็นรูปธรรมที่สุดก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ซึ่งท่านได้สร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นมาเพื่อแจกให้แก่ญาติโยม ซึ่งพระสมเด็จของท่านถือได้ว่าเป็นต้นแบบของพระเครื่องต่อ ๆ มา
จุดประสงค์ของการสร้างพระเครื่อง แบ่งได้เป็น 6 ข้อดังนี้
- สร้างเพื่อระลึกถึงพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคนี้จะสร้างเป็นรูปจำลองของพระพุทธเจ้าเพื่อระลึกถึงพระองค์ท่าน ในยุคนนี้จำนวนการสร้างจะไม่มาก เช่น พระพิมพ์กระดุมศรีวิชัย พระในยุคทาราวดี เป็นต้น
- สร้างเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ในยุคนี้เกิดจากความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในยุคนี้ผู้สร้างส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นสูง คหบดี เศรษฐี เพื่อจำนวนการสร้างจะมาก เช่น 84,000 องค์ พระที่สร้างในยุคนี้เมื่อสร้างแล้วจะนำไปบรรจุในพระเจดีย์ ใต้ฐานองค์พระประธาน ในพระอุโบสถ เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนา เช่น ในยุคหริภุญชัย สุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- พระเครื่องที่พระเกจิอาจารย์สร้างเพื่อแจกให้กับลูกศิษย์และญาติโยม ในยุคนี้พระเกจิอาจารย์จะสร้างกันเองแล้วแจกให้กับลูกศิษย์ การสร้างจะมีจำนวนไม่มาก
- สร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้กับผู้ทำบุญบริจาคทรัพย์ ในโอกาสงานบุญ เช่น สร้างโบสถ์สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในวัด
- สร้างโดยหน่วยงานราชการเพื่อแจกให้กับ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และผู้สร้างคุณประโยชน์กับทางราชการ พระเครื่องในยุคนี้เอาจสร้างในช่วงที่บ้านเมืองมีภาวะสงครามประชาชนต้องการสิ่งมงคลไว้คุ้มครองตัว โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ
- สร้างโดยหวังผลกำไร ในยุคนี้เกิดพระเครื่องเริ่มมีมูลค่าขึ้น มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ประกอบกับความต้องการพระเครื่องมีมากขึ้น เมื่อพระเครื่องมีน้อยความต้องการมีมาก จึงเริ่มมีการสร้างพระเครื่องเพื่อจำหน่ายกัน โดยพ่อค้า นักธุรกิจ หรือพวกเซียนพระ ที่เข้ามาแสวงหากำไรในวงการพระเครื่อง หรือจะเรียกว่า พุทธพาณิชย์ ดังเช่นในปัจจุบัน
สรุป
แม้ พระเครื่อง จะผ่านกาลเวลามายาวนานเพียงไร จุดประสงค์ในการสร้างพระเครื่องจะเป็นอย่างไร แต่คติความเชื่อในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ในพระเครื่องยังคงอยู่ในจิตใจของคนไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังจะเห็นได้ว่าพระเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมายังคงได้รับความนิยมจากคนไทยเสมอมา สมดั่งที่เซียนใหญ่ท่านหนึ่งกล่าวว่า “พระเครื่องเป็นปัจจัยที่ห้าของคนไทย”
คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด