คนไทยบูชาพระเครื่องมายาวนาน พระองค์เล็ก ๆ ที่เรียกว่าพระเครื่อง พระเครื่องไทย มีประวัติการสร้างมายาวนาน พระเครื่องไทยยังถือว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทย คนไทยนิยมห้อยพระเครื่องติดตัวเพื่อเอาไว้เป็นสิริมงคลกับตัวเอง หวังพึ่งอิทธฤทธิ์พุทธคุณให้พระเครื่องคุ้มครองเรา ยามเมื่อเราประสบภัยอันตรายให้ผ่อนหนักเป็นเบา เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวด้านจิตใจให้เราทำความดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น การแขวนพระเครื่องยังเป็นการเสริมสิริมงคลต่อตนเอง คนไทยนับถถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ คนเฒ่าคนแก่ชอบเข้าวัดทำบุญแล้วได้พระเครื่องที่หลวงพ่อปลุกเสกเอามาบูชาที่บ้าน บ้านคนไทยทุกบ้านมีพระเครื่องบูชาไว้ที่บ้านทุกบ้าน บางบ้านมีมาก บางบ้านมีน้อย บางบ้านมีเป็นร้อยเป็นพันองค์ก็มี การสร้างพระเครื่องของคนไทยเริ่มมาอย่างไร เริ่มจากจุดไหน เว็บรับเช่าพระบ้าน.com ขอเสนอบทความชึ้ถึงจุดกำเนิดพระเครื่อง ว่าพระเครื่องมีความเป็นมาอย่างไร พระเครื่องสร้างตั้งแต่ยุคสมัยไหน
พระเครื่องไทย แบ่งเป็น 4 ยุคสมัย
1. ยุคสร้างพระเครื่องเพื่อหวังพระนิพพาน
การสร้าง พระเครื่องไทย ในยุคนี้นั้นส่วนใหญ่สร้างโดยชนชั้นสูงระดับเจ้าผู้ครองนคร ข้าราชการระดับสูง เป็นการสร้างเพื่อถวายบุญกุศลแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อหวังอรหัตผลเข้าสู่พระนิพพาน เนืองจากในยุคนี้เป็นสมัยที่ใกล้กับยุคที่ศาสนาพุทธกำลังรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ประชาชนศรัทธาต่อพระศาสนาด้วยจิตใจใผ่ธรรมะ พระเครื่องที่พบในยุคนี้เป็นพบในสมัยพันกว่าปีก่อนได้แก่ อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญไชยและอาณาจักรศรีวิชัย เป็นต้น พระเครื่องในยุคนี้จะสร้างด้วยเนื้อดินเป็นส่วนใหญ่ สร้างโดยจำลองรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าเพื่อระลึกถึงพระศาสดาถวายเป็นพุทธบูชา ในสมัยนี้พุทธศานิกชนศรัทธาในพระพุทธศาสนามากมุ่งปฏิบัติบูชาเพื่อหวังหลุดพ้นกิเลสเข้าพระนิพพานตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ยุคสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นพุทธบูชา
การสร้างพระเครื่องในยุคนี้เป็นการสร้างพระเครื่องเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาถวายเป็นพุทธบูชา เป็นการสร้างเพื่อเอาบุญ เติมบุญสร้างบารมี ให้กับผู้ร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระเครื่อง พระเครื่องที่พบในยุคนี้จะอยู่ในช่วงต่ำกว่า 1000 ปี หรือในยุคตั้งแต่อารยะธรรมบ้านเชียง เชียงแสน สุโขทัยและอยุธยาเรื่อยมาจนถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างพระเครื่องในยุคนี้สร้างด้วยเจตนาเพื่อเผยแผ่พระศาสนาอย่างแท้จริง สร้างพระเสร็จแล้วถวายให้วัดเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ว่าพระพุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตและให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในกาลข้างหน้า การสร้างพระแล้วฝากไว้ที่วัดนั้นทางวัดก็ได้เก็บไว้ในเจดีย์ วิหาร ในพระประธานหรือในอาคารถาวรของทางวัด ซึ่งต่อมาคนรุ่นหลังได้ไปขุดค้นพบ จึงได้เรียกพระยุคนี้ว่า “พระกรุ”
3. ยุคสร้างพระเครื่องเพื่อขวัญกำลังใจ
การสร้างพระเครื่องยุคนี้สร้างโดยเจตนาเพื่อให้เป็นกำลังใจกับประชาชนในยามเกิดทุภิขภัย เช่น โรคระบาด หรือยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม อย่างในช่วงปี พ.ศ. 2480 -2488 คราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่ภาวะสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ชาวบ้านหวาดกลัวภัยสงคราม ทางราชการได้สร้างของมงคลทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลังแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทหาร ตำรวจ ส่วนประชาชนก็ได้รับแจกพระเครื่องจากพระอาจารย์ดัง ๆ ในสมัยนั้นที่ท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อแจกให้ประชาชนไว้คุ้มครองตัวเอง หรือในสงครามอินโดจีนที่ประเทศไทยส่งทหารไปร่วมรบ ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยได้สร้างพระพุทธชินราชอินโดจีนแจกให้กับทหาร ตำรวจที่ไปร่วมรบในสงครามอินโดจีน ที่เหลือก็แจกให้กับประชาชนนำไปบูชาที่บ้านเพื่อคุ้มครองบ้านเรือน พระเครื่องในยุคนี้เป็นการสร้างเพื่อแจกไม่ได้จำหน่ายแต่อย่างไร
4. ยุคสร้างพระเครื่องกึ่งพุทธกาล
การสร้างพระเครื่องในยุคนี้เนื่องด้วยเหตุพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาได้ 2500 ปี ใน พ.ศ. 2500 ทางราชการได้จัดสร้างพระเครื่องรุ่น 25 ศตวรรษ ณ พุทธมณฑล ซึ่งเป็นมหาพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยจัดมา เป็นการร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และพระสงฆ์ พิธีมหาพุทธาพิเษกนีได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ 108 รูป ทั่วประเทศ ปลุกเสก 3 วัน 3 คืน พิธีที่ยิ่งใหญ่มากทั้งเรื่องขนาดของพระสงฆ์และประชาชนที่มาร่วมงาน ยิ่งใหญ่ทั้งจำนวนพระเครื่องที่ปลุกเสกก็มีจำนวนเป็นแสน ๆ องค์ ในวารกึ่งพุทธกาลนี้ยังมีวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้จัดสร้างพระเครื่องด้วยอีกหลายต่อหลายวัด พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พุทธมณฑลในครั้งนั้น ได้สร้างปรากฏการณ์ให้วงการพระเครื่องและถือเป็นต้นแบบในงานพุทธาภิเษกพระเครื่องของไทยในยุคต่อมา การสร้างพระเครื่องในยุคนี้ได้เริ่มมีการให้ประชาชนได้ร่วมบุญเช่าบูชาพระเครื่องกันแล้ว
5. ยุคสร้างพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์
สืบเนื่องจากมหาพิธีพุทธาภิเษกพระ 25 ศตวรรษ ที่สร้างความตื่นตัวให้กับวงการพระเครื่องแล้วนั้น หลังจากพิธีนี้ได้มีการสร้างพระเครื่องเพิ่มขึ้นมากมายหลายวัด ยิ่งในช่วงปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่สร้างในนามของพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระผู้ปราบมาร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง พ่อท่านคล้าย วัดส่วนขัน เป็นต้น ยุคนี้เป็นยุครุ่งเรืองของพระเกจิอาจารย์ พระเครื่องที่สร้างในยุคนี้ส่วนใหญ่สร้างดดยพระอริยสงฆ์ที่มีลูกศิษย์นับถือกันอยู่แล้ว แรก ๆ ก็แจกเฉพาะลูกศิษย์ใกล้ชิด พอลูกศิษย์นำไปใช้แล้วได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็บอกต่อกันปากต่อปากถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ตนเองแขวนคออยู่ทำให้พระเครื่องของพระเกจิดังขึ้นมา ราคาสูงขึ้นเป็นหมื่นเป็นแสนจากราคาเช่าจากวัดแค่หลักร้อย บางรุ่นเป็นพระแจกก็ยังดังมีราคาสูงตามไปด้วย
พระเครื่องในยุคของพระเกจิอาจารย์ ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก หากท่านที่มีพระเครื่องหลวงพ่ออะไรก็ตาม หากต้องการขายพระเครื่องติดต่อได้ที่ เว็บรับเช่าพระบ้าน
6. ยุคสร้างพระเครื่องสมัยปัจจุบัน
ความตื่นตัวของวงการ พระเครื่องไทย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วงหลังปี 2530 เป็นอีกยุคหนึ่งที่พระเครื่องบูมมาก มีการสร้างพระเครื่องกันทุกวัน การสร้างพระเครื่องในยุคปี 2530 ขึ้นมา มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อสารมวลชน ทั้ง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต มีลงโฆษณากันทุกวัน พระเครื่องในยุคนี้ไม่มีการแจกฟรี หรือมีก็ส่วนน้อยมาก พระการสร้างพระเครื่องเป็นเรื่องของธุรกิจไปแล้ว มีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ มีนายทุนเข้ามาแสวงหากำไรจากการสร้างพระเครื่องกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จนมีการข่อนแคะว่าเป็น “พุทธพาณิชย์” เนื่องด้วยพระเครื่องในยุคนี้มีการปั่นราคา เก็งกำไร มีกำไรมีขาดทุน เหมือนการซื้อขายสินค้าอื่น ๆ
สรุป
พระเครื่องไทย มีประวัติการสร้างมาเป็นพันปี พระเครื่องมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มากหลายด้าน ทั้งคงกระพันชาตรี มหาอุด เมตตาบารมี โชคลาภ แคล้วคลาด เรื่องพุทธคุณพระเครื่องอ่านเพิ่มเติมในบทความ พระเครื่องแต่ละยุค พุทธคุณ มีอะไรบ้าง เรื่องความศักดิ์สิทธิ์เป็นเรื่องอจิณไตย คนที่บูชาพระเครื่องเท่านั้นที่สัมผัสได้ การสร้างพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยนั้นผู้สร้างทุกคนมีเจตนาดี แต่จุดประสงค์ของการสร้างอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละยุค ในบางยุคนิยมพระเครื่องที่ให้พุทธคุณคงกระพันชาตรี อย่างในยุคปัจจุบันนิยมพระเครื่องเมตตาบารมี ให้โชคให้ลาภ พระเครื่องไทยถือได้ว่าเป็น ซอฟต์เพาวเวอร์ไทย อย่างหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าพระเครื่องแล้วท่านมีความศักดิ์สิทธิ์ครอบรอบด้านอยู่แล้ว ขอให้คนที่บูชาพระเครื่องประพฤติตนเป็นคนดีก็ดีแล้ว เพราะคนดีพระคุ้มครอง
คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด