ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง ซอฟต์เพาเวอร์ ยิ่งรัฐบาลหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นนโยบายส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นซอฟต์เพาเวอร์ไทย หลายคนได้ฟังคำว่า ซอฟต์เพาเวอร์ ก็งงเป็นไก่ตาแตกว่ามันคืออะไร
“Soft Power” หมายถึง อิทธิพลทางวัฒนธรรม การบริโภค การกิน การดื่ม วิถีชีวิตและความเชื่อ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวใจให้คนทำตามในทางสร้างสรรค์ โดยเฉพาะมุงหมายด้านเอกลักษณ์ไทย
มีผู้ให้นิยามคำว่า Soft Power ไว้หลายรูปแบบ เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ ได้ใช้คำว่า อำนาจละมุน แทน ท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ เสนอให้ใช้คำว่า ภูมิพลังวัฒนธรรม ถึงอย่างไรยังไม่มีคำนยามใดนำมาใช้แทนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ยังคงใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
ท่ามกลางกระแสซอฟต์เพาเวอร์ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันในสังคม รัฐบาลมีการส่งเสริมธุรกิจที่พบว่าเป็นซอฟต์เพาเวอร์หลายประเภท แต่ยังมีธุรกิจอีกอย่างที่เป็นซอฟต์เพาเวอร์ไทยที่สังคมมองข้าม นั่นคือ พระเครื่อง หากจะพูดถึง พระเครื่อง เชื่อแน่ว่าของไทยทุกคนต้องรู้จักพระเครื่องไทยเป็นอย่างดี พระเครื่องวัตถุมงคลองค์เล็ก ๆ ที่คนไทยต่างนิยมเอาห้อยคอเพื่อเสริมสิริมงคล ไว้ยึดเหรี่ยวจิตใจให้ทำความดี พระเครื่องมีประวัติการสร้างมาอย่างยาวนาน นับย้อนไปกว่า 1,300 ปี เป็นภูมิปัญญาไทยที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างขึ้นบนศิลปะของยุคสมัยต่าง ๆ พระเครื่องไทย วันนี้ เว็บรับเช่าพระบ้าน.com จะเสนอเรื่องราวการพระเครื่องไทยที่แบ่งได้ 7 ยุคสมัยดังนี้
การสร้างพระเครื่องแบ่งได้ 7 ยุคสมัย
พระเครื่องยุคโบราณ
พระเครื่องในยุคนี้ ได้ก่อกำเนิดขึ้นในแคว้นศรีวิชัย และแคว้นหริภุญไชย พระเครื่องในยุคนั้นสร้างด้วยวัสุดที่หาได้ง่าย คือสร้างด้วยเนื้อดิน ทางแคว้นศรีวิชัยใช้ดินดิบในการสร้างพระเครื่อง เรียกว่าพระกระดุมศรีวิชัย ส่วนด้านแคว้นหริภุญไชย ใช้ดินสร้างพระเหมือนกัน ผิดกันแต่ว่าของแคว้นหริภุญไชยสร้างพระแล้วนำไปเผาไฟเพื่อคงสภาพพระเครื่อง เช่น พระคง พระรอด พระเปิม หรือพระสกุลลำพูนทุกพิมพ์
พระเครื่องยุคอารยธรรม
พระเครื่องยุคนี้จะเป็นการสร้างเพื่อบำเพ็ญบารมีเป็นพุทธบูชา การสร้างพระเครื่องในยุคนี้ส่วนมากจะสร้างในปริมาณมาก เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา กล่าวคือเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะไม่ได้นำกลับบ้าน แต่จะถวายให้วัดเก็บรักษาไว้ ซึ่งทางวัดก็จะเอาบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ วิหารหรือภายในองค์พระประธานเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านองค์พระเครื่อง โดยในระยะต่อมาเราจะได้ยินข่าวพระเครื่องแตกกรุกันเรื่อยมา
พระเครื่องยุคศีลธรรม
พระเครื่องในยุคนี้เริ่มจากการสร้างการพระมหากษัตริย์หรือขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อปลุกฝังศีลธรรมอันดีกับประชาชน การสร้างพระเครื่องในยุคนี้นับจากประเทศไทยได้ก่อเกิดอาณาจักรตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองของพรพุทธศาสนา เพราะบ้านเมืองร่มเย็นประชาชนอยู่ดีมีสุข ศาสนจักรก็ได้สร้างพระเครื่องออกมาเพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา
พระเครื่องยุคสร้างขวัญกำลังใจ
การสร้างพระเครื่องยุคนี้สร้างเพื่อปลอบขวัญหรือสร้างขวัญกำลังใจประชาชนในยามประเทศเกิดภาวะวิกฤต เช่น เกิดภาวะสงคราม เกิดโรคระบาด เกิดเภตภัยจากคุณไสมนต์ดำ จากอดีตที่ผ่านมาทหาร ตำรวจที่เข้ารับราชการ ทางการจะมีพระเครื่องแจกให้กับข้าราชการใหม่ที่เพิ่งบรรจุเข้าหน้าที่ เป็นของศักดิ์สิทธิ์เสริมมงคล และในยามที่บ้านเมืองแร้นแค้นหรืออยู่ในช่วงสงครามประชาชนต่างหวาดกลัวต่อภัยต่าง ๆ ทางราชการก็ได้มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องเอาไว้แจกให้กับข้าราชการ ทหารตำรวจและประชาชนไว้บูชาติดตัว โดยพระเครื่องที่แจกในช่วงนี้จะมีพุทธคุณอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย เช่การสร้างเหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475 การสร้างพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นต้น
พระเครื่องยุคกึ่งพุทธกาล
ในปี พ.ศ.2500 เป็นปีที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาถึงกึ่งพุทธกาลหรือ 2,500 ปี ซึ่งพระพุทธเจ้าสมณโคดมท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า พระศาสนาของท่านจะมีอายุ 5,000 ปี ซึ่งในปีนั้นทางรัฐบาลได้ดำริให้สร้างพุทธมณฑล ที่จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ในต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500 มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และมีพิธีปลุกเสกพระเครื่องอีกเป็นจำนวนมากในงานฉลองพุทธมณฑล คือรุ่นพระลีลา 25 ศตวรรษ มีทั้งแบบเนื้อดิน เนื้อชิน ถือเป็นงานพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น
พระเครื่องยุครัชกาล
การพระเครื่องในยุคนี้เป็นการสร้างที่ย้อนยุคศิลปะสมัยโบราณ เป็นแบบสร้างใหม่แต่อิงรูปแบบศิลปะของยุคสมัยต่าง ๆ เช่น พระเชียงแสนย้อนยุค พระสุโขทัยย้อนยุค พระอู่ทองย้อนยุค หรือที่เรียกว่า พระสามสมัย ยุคนี้เป็นยุคที่มีการสร้างพระเครื่องด้วยการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ ๆ ในไทย เช่น หลวงพ่อโสธร พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ เป็นต้น การปลุกเสกพระเครื่องในยุคนี้ได้ทำตามแบบตำหรับโบราณ
พระเครื่องยุคปัจจุบัน
การพระเครื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของการสร้างพระเครื่องไทย กล่าวคือ เกือบทุกวัดในประเทศไทยได้มีพิธีการสร้างพระเครื่องเพื่อเปิดให้ประชาชนเช่าบูชา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะถาวรวัตถุที่วัด มีเจตนาการสร้างที่ดี การสร้างพระเครื่องในยุคปัจจุบันเริ่มมีพ่อค้า นักลงทุนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในการสร้างพระเครื่อง โดยเข้ามาเป็นนายทุนในการสร้างพระเครื่องแล้วเอากำไรส่วนต่างจากการจองพระเครื่อง วงการพระเครื่องได้เข้าสู่การลงทุนแบบธุรกิจเต็มรูปแบบในยุคนี้ หรือที่เรียกว่า “พุทธพาณิชย์” แต่ถึงอย่างไรการสร้างพระเครื่องในยุคนี้มีความสวยงามกว่าพระเครื่องในยุคก่อนมาก เพราะเครื่องจักรในการสร้างพระเครื่องมีความทันสมัย
หากท่านต้องการทราบวิวัฒนาการของพระเครื่องนับจากปัจจุบันนี้อีก แนะนำอ่านบทความนี้ ตลาดพระเครื่อง จากแผงพระ ไปห้าง สู่โลกออนไลน์
สรุป
พระเครื่องไทย ได้มีประวัติการสรางมายาวนานกว่า 1,300 ปี ผ่านการสร้างมาหลายรูปแบบหลายวัฒนธรรม อาณาจักรแห่งความรุ่งเรืองในอดีตได้รับการยืนยันโดยผ่านพระเครื่องและพระพุทธรูปตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ พระเครื่องเป็นภูมิปัญญาไทย หรือทที่เขาเรียกันทันสมัยว่า “ซอฟต์เพาเวอร์” เชื่อเหลือเกินว่าพระเครื่องไทยจะยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยไปตลอดไม่มีจากหายไปจากประวัติศาตร์ชาติไทย และหวังว่าทางราชการเข้ามาดูแล พระเครื่องไทยซอฟต์เพาเวอร์ไทยชิ้นนี้ให้ก้าวไปสู่นานาชาติ
คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด