เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ตลาดพระเครื่อง เป็นตลาดที่ซื้อขาย รับเช่าพระ ในวงการพระเครื่อง พระเครื่องเป็นสิ่งที่เคารพบูชาของคนไทย สมัยก่อนไม่มีการซื้อขายพระเครื่องกัน มีแต่ให้ แจกจ่ายกัน หรือแลกเปลี่ยนพระกัน การซื้อขายพระเครื่องเริ่มเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณหลังปี 2500 มานี้เอง แต่เป็นการซื้อขายกันในแวดดวงเพื่อน ๆ คนนิยมพระ เนื่องจากนำพระมาเสนอแลกแล้วอีกฝ่ายไม่ตกลง จึงมีการเสนอเงินซื้อขายขึ้นมา เมื่อมีคนเริ่มมานิยมพระมากขึ้น ๆ จากซื้อขายก็ขยายวงกว้างขึ้นไปอีก จากคนกลุ่มเล็ก ๆ ก็ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ เมื่อมีคนร่วมกันมากขึ้น จากที่พกกันมาคนละองค์สององค์ ก็พกกันมามากขึ้นจนถึงขั้นวางขายให้เลือกหยิบชมกัน
จากการวางขายพระกันเป็นกลุ่ม ๆ ก็เริ่มมีวางขายเป็นแผงพระขึ้นมา ตลาดพระเครื่อง ก็จะเริ่มขึ้นจากจุดนี้ การวางขายพระของพ่อค้าพระจะมีหลายรูปแบบ เช่น เร่ขายตามตลาดทั่วไป วางแบกับดิน ตั้งแผงลอย จุดไหนที่คนนิยมมาเดินกันก็จะตั้งกันหลาย ๆ แผง โดยวิวัฒนาการของแผงพระ หรือ ตลาดพระเครื่อง จะแบ่งเป็น 3 ยุคดังนี้
1. ยุคร้านค้า แผงลอย
- แผงพระเครื่องข้างวัดมหาธาตุ จุดนี้ถือเป็นจุดแรกของการกำเนิดตลาดพระเครื่องเมืองไทย แผงพระเครื่องจะวางทั้งฝั่งข้างวัดมหาธาตุและฝังกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลาดพระข้างวัดมหาธาตุจะมีทั้งแผงวางแบกกับดิน แผงลอย เปิดทุกวัน ตั้งแต่ปี 2500 ต่อมาหลังปี 2535 ทางกรุงเทพมหานคร เริ่มจัคระเบียบผู้ค้าบริเวณนี้และได้ให้เลิกขายไป
- ตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ อยู่ที่ ถ.พระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ ตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์เป็นตลาดพระเครื่องเก่าแก่ มีร้านพระเครื่อง แผงลอย จำหน่ายพระเครื่อง ของโบราณ ตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ จริง ๆ แล้วเกิดมาไล่เลี่ยกับแผงพระข้างวัดมหาธาตุก็ว่าได้ ในสมัยก่อนมีเซียนเดินพระ ไปหาพระที่แผ่งพระข้างวัดมหาธาตุแล้วมาปล่อยในตลาดพระเครื่องท่านพระจันทร์อยู่บ่อย ๆ ตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ แห่งนี้โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนไทยและชาวต่างชาติ ในสมัยนั้นคนที่สะสมพระเครื่องจะซื้อจะขายพระต้องนึกถึงที่ก่อนเป็นที่แรก เซียนพระขื่อดังระดับประเทศหลาย ๆ คน ได้กำเนิดและมีชื่อขึ้นมาจากตลาดแห่งนี้
- ตลาดพระเครื่องวัดราชนัดดา ตลาดพระเครื่อง นี้ตั้งอยู่ภายในวัดราชนัดดา บนถนนมหาไชย เขตพระนคร กรุงเทพ ตลาดพระแห่งนี้เป็นตลาดเก่าแก่คู่กันมากับตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ เป็นตลาดพระเครื่องและของเก่าของโบราณ นักเล่นพระ พระภิกษุเดินทางมาจากทั่วประเทศ มาซื้อพระเครื่อง วัตถุมงคลจากที่นี่ทุกวัน ตลาดพระเครื่องที่นี่คึกคักไม่แพ้ตลาดพระท่าพระจันทร์
- ตลาดพระเครื่องพญาไม้ ตั้งอยู่เชิงสะพานพระปกเกล้าฝั่งธนบุรี ตลาดแห่งนี้เดิมเรียกกันว่าตลาดพระเครื่องวงเวียนเล็ก เดิมหน้าตลาดมีวงเวียนเล็ก ๆ อยู่หน้าตลาด บนถนนประชาธิปก ต่อมาทางราชการได้รื้อวงเวียนเล็กออกไป คนรุ่นหลังจึงรู้จักตลาดแห่งนี้ว่า ตลาดพระเครื่องพญาไม้ ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดพระเครื่องใหญ่และได้มาตรฐานในฝั่งธนบุรี
- ตลาดพระเครื่องตามตลาดนัดทั่วไป เช่น ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดพระเครื่องไทยณรงค์ สะพานใหม่ และตลาดนัดพระต่าง ๆ ดูรายชื่อตลาดนัดพระเครื่อง
2. ยุคขึ้นห้างสรรพสินค้า
ตลาดพระเครื่อง ในยุคหลัง ๆ นี้ มักจะเปิดกันบนห้างสรรพสินค้ากันมาก เนื่องด้วยมีความสะดวกสบายทั้งผู้ซื้อผู้ขาย เดินแอร์เย็น ๆ ห้างที่เปิดใหม่ ๆ ทุกห้างจะขาดไม่ได้เลยคือศูนย์พระเครื่อง ศูนย์พระเครื่องบนห้างได้รับความนิยมกันมากถึงขนาดตลาตพระเครื่องเก่า ๆ ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ซื้อผู้ขายหันไปซื้อขายกันบนห้าง ตลาดพระเครื่องที่ขึ้นไปเปิดบนห้างที่เป็นที่นิยมมีดังนี้
- ตลาดพระเครื่องพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ในช่วงแรก ๆ ของตลาดพระเครื่องนั้น จะปกหลักอยู่ตามตลาดต่าง ๆ ต่อมาหลังปี 2525 ร้านพระเครื่องได้มาบุกเบิกเปิดร้านอยู่บนห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ คนในสมัยนั้นเรียกว่า ตลาดพระเครื่องพันธุ์ทิพย์ ปรากฏว่าได้รับความนิยมมากทั้งจากผู้ค้าและผู้ซื้อ การเปิดตัวของตลาดพระเครื่องพันธุ์ทิพย์นอกจากได้รับความนิยมแล้ว ตลาดแห่งนี้ยังถือเป็นตลาดพระเครื่องมาตรฐานตลาดหนึ่ง แต่น่าเสียดายหลังปี 2535 ตลาดพระเครื่องแห่งนี้ภายหลังต้านทานความนิยมของคอมพิวเตอร์ที่รุกคืบมาเปิดร้านบนห้างพันธุ์ทิพย์ไม่ได้ ร้านคอมพิวเตอร์ทนอยมาเปิดร้านจนร้านพระเครื่องอยู่ไม่ได้ ทยอยปิดตัวลงในที่สุด จนภายหลังห้างแห่งนี้กลายเป็นตลาดคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น
- ตลาดพระเครื่องพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ภายหลังที่ร้านพระเครื่องบนห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ถูกร้านคอมพิวเตอร์เบียดจนต้องระเหเร่ร่อนไม่มีที่อยู่ ช่วงเวลานั้นเองได้มีการเปิดตลาดพระเครื่องพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ขึ้น ร้านพระเครื่องที่สูญเสียที่ให้กับร้านคอมฯ ไป ก็ย้ายมาเปิดร้านที่ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน แทน ที่ตลาดแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ สมาคมนักนิยมพระเครื่องพระบูชาไทย อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี ศูนย์พระเครื่อง ที่เปิดบนห้างอื่น q อีก เช่น ศูนย์พระเครื่องโรงแรมมณเฑียร ศูนย์พระเครื่อง SC Plaza ศูนย์พระเครื่อง ศูนย์พระเครื่องโลตัสปิ่นเกล้า ศูนย์พระเครื่องเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ฯลฯ
3. ยุคโลกออนไลน์
- ตลาดพระเครื่องออนไลน์
ด้วยยุคสมัยนิ้เป็นยุคดิจิตอล เป็นสังคมโซเชี่ยล พฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์กันมากขึ้น
มีแฟลตฟอรม์ซื้อขายออนไลน์ใหญ่เล็กเกิดขึ้นมากมาย ร้านรวงต่าง ๆ เงียบเหงา เนื่องจากผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าผ่านหน้าจอคอมหน้าจอมือถือแทนการเดินซื้อของตามตลาดทั่วไป ตลาดพระเครื่องก็เช่นกันหลีกเลี่ยงการเปลียนแปลงครั้งนี้ไม่ได้ พระเครื่องมีการนำขายบนโลกออนไลน์อย่างมากในยุคนนี้ มีการ รับเช่าพระออนไลน์ ทั้งบน อินเตอร์เน็ต Facebook Youtube Tikok มูลค่าการซื้อขายบนโลกออนไลน์เกินกว่า 50 % ของมุ,ค่ารวมของตลาดทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลให้ทั้งเซียนเล็ก เซียนใหญ่ ต่างทยอยมาเปิดร้านค้าออนไลน์กันถ้วนหน้า เว็บรับเช่าพระ.com ก็กำเนิดในยุคนี้
สรุป
ตลาดพระเครื่อง จากเริ่มต้นที่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน มีการซื้อขายกลุ่มเล็ก ๆ ต่อมามีการทำ ธุรกิจพระเครื่อง เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เม็ดเงินที่เชื่อกันว่ามีการซื้อขายพระในแต่ละปีไม่ต่ำว่า 7 พันล้านบาท จะว่าไปแล้ววงการพระเครื่องที่เติบโตมาทุกวันนี้ ก็ด้วยเนื่องจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิดชนที่ให้ความเคารพ ต่อรูปเคารพพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ เชื่อเหลือเกินว่า ตลาดพระเครื่องจะยังคงเติบโตต่อไป ตราบเท่าที่คนไทยยังนับถือพุทธศาสนา
คำเตือน : บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์รับเช่าพระบ้าน.com ห้ามมิให้บุคคลใดคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์นี้ ไปใช้กับเว็บไซต์อื่นหรือธุรกรรมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด